แชร์

พระพรหมประสิทธิ์ หนึ่งในมหาเทพผู้ประทานพรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีผู้เคารพบูชามากที่สุดในโลก สู่การออกแบบพุทธศิลป์อันวิจิตรตระการตา โดย อ.ธานี ชินชูศักดิ์ (จิด.ตระ.ธานี)

อัพเดทล่าสุด: 9 ก.พ. 2025
181 ผู้เข้าชม


คติการบูชาพระพรหมในประเทศไทย

พระพรหม เป็นเทพเจ้าสำคัญสูงสุด (หนึ่งใน ตรีมูรติ) ตามคติของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตา ผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสรรพสิ่งต่างๆ ในจักรวาล

พระพรหมมีเพียงองค์เดียว แต่เรียกได้หลายพระนาม เช่น พระพรหมมา พระพรหมธาดา ท้าวมหาพรหม ท้าวจัตุรมุข ปชาบดี อาตมภู โลกาธิบดี ฯลฯ

โดยความหมายของคำว่า พรหม หมายถึง ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน 

ประสิทธิ์ แปลว่า ความสําเร็จ, ทําให้สําเร็จ  พระพรหมประสิทธิ์ จึงเป็นอีกพระนามหนึ่ง หมายถึง พระพรหมผู้ประทานความเจริญและความสำเร็จ ทรงทิพยาภรณ์ และประทับเหนือพญาหงส์พาหนะ

ชาวไทยรับคติความเชื่อ มาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิตชะตาชีวิตของบุคคล ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า พรหมลิขิต ผู้ใดบูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทาน พรพรหม เพื่อให้สำเร็จสมหวัง อีกทั้งพระพรหมยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย

ในคติพุทธเถรวาท พระพรหมมีได้หลายองค์ ผู้ได้เกิดเป็นพรหมคือผู้รักษาศีล และตั้งมั่นอยู่ในกุศลกรรม เช่น หลัก พรหมวิหาร 4 (คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) และสิ้นชีพในขณะจิตกำลังทรงฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป สวรรค์ชั้นพรหมภูมิ แบ่งออกเป็น พรหมมีรูป (รูปพรหม) 16 ชั้น และพรหมไม่มีรูป (อรูปพรหม) 4 ชั้น

ความเชื่อเรื่องการบูชาพระพรหม

พระพรหมสามารถประดิษฐานเพื่อการบูชา ได้ทั้งภายในและภายนอกเคหสถาน ความเชื่อเรื่องไม่สามารถบูชาพระพรหมภายในที่พักอาศัยได้นั้น จึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เนื่องด้วยพระพรหมมี 4 พระพักตร์ การจัดบูชาจึงไม่ควรให้พระพักตร์ใดพระพักตร์หนึ่งชิดผนังมากเกินไป ควรเว้นระยะห่างจากแนวผนังพอสมควร กรณีองค์พระพรหมมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถบูชาภายในที่พักได้ จึงควรสร้างศาลหรือเทวาลัยภายนอกตัวอาคาร

การบูชาพระพรหมในแต่ละทิศนั้น มีคติความเชื่อในการขอพรที่แตกต่างกันดังนี้

ทิศเหนือ  บูชาเพื่อขอพรเรื่องอาชีพและหน้าที่การงาน
ทิศใต้  บูชาเพื่อขอพรเกี่ยวกับเกียรติยศและชื่อเสียง
ทิศตะวันตก  บูชาเพื่อขอพรเรื่องเกี่ยวกับอนาคต
ทิศตะวันออก  บูชาเพื่อขอพรเรื่องครอบครัว 

นิยมบูชาพระพรหม ด้วยการถวายดอกไม้กลิ่นหอมอ่อนๆ ขนมหวานรสอ่อน ผักต้มสุก และผลไม้ต่างๆ ห้ามบูชาด้วยการถวายเนื้อสัตว์

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

ร่วมสมทบทุนสร้าง พระมหาจักรพรรดิโพธิสัตว์กวนอิมปาง 4 พระพักตร์ องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ประดิษฐาน ณ เลขที่ 88 หมู่ 8 ต.ตลาดเกรียบ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา 

พิธีขอพรความสำเร็จ และประกอบพิธีเทวาภิเษก ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งตำนานพระพรหม รวมทั้งสิ้น 6 วาระ

จารแผ่นยันต์ มวลสารพระพรหม

โดย พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์, พระอาจารย์มหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ (พระอารามหลวง) และพระเกจิอีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม, หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, พระอาจารย์หลาย วัดคันลัด, หลวงพ่อสิริ วัดตาล, พระอาจารย์บ๊ะ วัดโพธิ์ลังกา

แผ่นจารยันต์เหล่านี้ จะนำไปรวมกับมวลสารพระพรหมเก่าหลายรุ่น ที่จะเปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาได้บริจาค เพื่อหลอมรวมเป็นมวลสาร ชนวนรวมใจ และนำไปสร้างเป็นโลหะเนื้อชนวนรวมใจ ของรุ่นมหาสิทธิโชคโภคทรัพย์นี้

พิธีบวงสรวงบูชา หล่อเบิกฤกษ์ 30 ม.ค. 2558

เพื่อให้การหล่อเบิกฤกษ์ พระพรหมประสิทธิ์ รุ่น มหาสิทธิโชคโภคทรัพย์ เป็นไปอย่างราบรื่น จึงได้จัดพิธีบวงสรวงพระพิฆเนศ เจ้าที่ และชุมนุมเทวดา ตามพิธีกรรมโบราณ เป่าแตรสังข์เอาฤกษ์เอาชัย โดย อ.พิชิต ศรีแจ้งรุ่ง (อ.ต๊ะ) เป็นผู้ประกอบพิธี โดยมีประธานกรรมการบริษัทฯ อ.ธานี ชินชูศักดิ์ ผู้ออกแบบ อ.ไพรัช ตรีวิทยานุรักษ์ ผู้ปั้นต้นแบบ คณะผู้จัดสร้าง ตลอดจนพนักงานผู้ผลิต ร่วมพิธีมงคลนี้ด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง
การบูชาพระพิฆเนศ นำมาซึ่งความสำเร็จและประทานพรให้สมปรารถนา ซึ่งมีวิธีการบูชาและข้อควรปฏิบัติที่ควรทราบ
การบูชาพระพิฆเนศเป็นพิธีกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีความเชื่อว่าจะช่วยขจัดอุปสรรค นำมาซึ่งความสำเร็จ และประทานพรให้สมปรารถนา ซึ่งมีวิธีการบูชาและข้อควรปฏิบัติที่ควรทราบดังนี้
17 ก.พ. 2025
พระพิฆเนศ
พระคเณศ หรือพระพิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งคนไทยเคารพสักการะมาช้านาน ผ่านการส่งต่อวัฒนธรรมจากอินเดียมายังอุษาคเนย์หลายศตวรรษ แม้ประชากรไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่เมื่อพิจารณาในความเป็นจริง คนไทยมักมีความเชื่อแบบพหุศาสนา นั่นคือการนับถือหลายศาสนาผสมผสานกัน ตามคติความเชื่อในสังคมของแต่ละยุค
9 ก.พ. 2025
แรงบันดาลใจในการออกแบบ พระพุทธมรรคสมังคีนาคปรก (พระพุทธมุจจลินท์ (นาคปรก)
การออกแบบ พระพุทธมรรคสมังคีนาคปรก ผมเลือกใช้คติความงามแบบสัจนิยม เพื่อให้ตรง ตามเนื้อหาในพุทธประวัติโดยออกแบบให้ขดนาควนรอบองค์พระ ๗ ชั้น
25 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ